แนวทางการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

ลักษณะการใช้งาน

ก่อนที่จะซื้อ Computer คุณควรถามต้วเองก่อนว่า “คุณต้องการนำ Computer มาใช้ทำอะไรบ้าง” คุณเป็นนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือชอบใช้งานเกี่ยวกับมัลติมีเดียต่างๆ เช่นแชทกับเพื่อน ตัดต่อภาพ อัพโหลดเพลง หรือใช้งานไม่ค่อยบ่อย คุณต้องการคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเพื่อทำงานอยู่ที่บ้านเท่านั้น หรือโน้ตบุ๊กที่คุณสามารถพกพาไปใช้งานที่อื่นได้ งานอดิเรกที่คุณชอบ รวมทั้งกลุ่มเพื่อนและครอบครัวของคุณ พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อสื่อสารกันด้วยรึเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าคุณจะเป็นคนที่ตอบคำถามข้างต้นได้ดีที่สุด เมื่อได้คำตอบแล้วเราไปดูหลักในการเลือกซื้อข้อต่อไปกันเลย

    วิธีกำหนดสเป็คเครื่อง

หลัง จากรู้ลักษณะการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้วว่าจะอยู่ในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดสเป็คเครื่องที่รองรับการทำงานประจำที่จะเกิดขึ้นกับ เครื่องพีซีนั้น ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดสเป็คของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่เหมาะสมแตกต่างกัน ไป โดยมีแนวทางในการเลือก

การทดสอบเครื่องคอมพิวเตอร์

หลังจากที่ดำเนินการประกอบเครื่องเป็นที่เสร็จสรรพแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ  การทดสอบว่าเครื่องที่ประกอบนั้นสามารถใช้งานได้หรือไม่ โดยจำเป็นต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงพื่นฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย

–          การเชื่อมต่อคีย์บอร์ด

–          การเชื่อมต่อเมาส์

–          การเชื่อมต่อจอภาพ

–          การเสียบปลักไฟเครื่องคอมพิวเตอร์ และจอภาพ

 รูปที่ 2.1 ภาพแสดงการเชื่อมต่อคีย์บอร์ดและเมาส์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 2.2 ภาพแสดงการเชื่อมต่อจอภาพ

 

 รูปที่ 2.3 ภาพแสดงการเสียบปลั๊กไฟตัวเครื่อง และปลั๊กไฟจอภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 รูปที่ 2.4 ชุดคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์พื้นฐานเพื่อดำเนินการทดสอบการใช้งาน

เมื่อได้ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงพื้นฐานต่างๆ ดังชุดคอมพิวเตอร์ที่แสดงไว้ ดังรูปที่ 2.4 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปให้กดปุ่มเพาเวอร์เพื่อเปิดเครื่อง และให้ทำการสังเกตอาการพื้นฐานที่อาจเกิดขึ้นกับกรณีต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

*  กรณีที่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น

                กรณีนี้  หมายความว่า ทุกอย่างเงียบ ไม่เห็นไฟแสดงสถานะ ไม่ได้ยินเสียงใด ๆ ให้สังเกตเบื้องต้นว่า ปลั๊กไฟต่าง ๆ ได้เสียบไว้ครบถ้วนหรือไม่ สายไฟหลักได้เสียบเข้ากับไฟบ้านเรียบร้อยแล้วหรือยัง

* มีไฟเข้าเครื่อง แต่กลับมีเสียงดัง Beep ถี่ ๆหลายครั้ง

กรณีดังกล่าว อาจเกิดจากการไม่ได้บรรจุแผงหน่วยความจำในเมนบอร์ด หรืออาจบรรจุแผงหน่วยความจำลงไปในซ็อกเก็ตไม่แน่นสนิท

* มีไฟเข้าเครื่อง แต่ทุกอย่างเงียบ

            อาการของกรณีดังกล่าว อาจเกิดจากการบรรจุซีพียูไม่แน่น ให้ทำการตรวจสอบซีพียูที่บรรจุบนเมนบอร์ดว่าแน่นหนาหรือไม่ รวมถึงให้ตรวจสอบจัมเปอร์ว่าติดตั้งตรงกับรุ่นซีพียูที่ใช้หรือไม่

* มีเสียง Beep หนึ่งครั้ง แต่จอภาพไม่มีภาพใด ๆ

กรณีที่เกิดขึ้นนี้ เป็นไปได้ว่าอาจลืมเสียบปลั๊กจอภาพเข้ากับไฟบ้าน สามารถทดสอบได้ด้วยการกดปุ่มเปิดจอภาพ ว่าสามารถเปิดได้หรือไม่ ถ้าเปิดไม่ได้ ก็แสดงว่าไฟไม่เข้า ให้ทดลองตรวจสอบปลั๊กไฟดังกล่าว

* มีเสียง Beep หนึ่งครั้ง แต่จอภาพที่แสดงข้อความว่าไม่มีสัญญาณภาพส่งมา

                กรณีนี้ เกิดจากการไม่ได้เสียบสายจอภาพ ทำให้จอภาพไม่ได้รับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงแสดงข้อความว่า ไม่มีสัญญาณ (No Signal) ให้ตรวจสอบสายจอภาพที่เชื่อมต่อว่าเสียบไว้แน่นหรือไม่

* มีเสียง Beep หนึ่งครั้ง และมีการแสดงรายละเอียดสเป็คเครื่องบนจอภาพ

ซีพียู (CPU) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor)

เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซีพียูจะมีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีความเร็วที่สูงกว่าเดิมมาก และมีจำนวนแกน Core มากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU 2 ค่ายดัง ได้แก่ Intel และAMD

เมนบอร์ด (Main Board)
หลังจากเลือกค่ายผู้ผลิตได้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นจะเป็นการเลือก Main board ที่ต้องการใช้งาน โดยต้องเลือกให้รองรับกับ CPU ที่เลือกไว้ โดยยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Asus, Gigabite, Intel, … ซึ่งการเลือกเมนบอร์ดจะต้องดูข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยว่ารองรับอะไรบ้าง

แรม (RAM) หรือ หน่วยความจำ (Memory)
การเลือก RAM จะพิจารณาในเรื่องของ ประเภทของ RAM ซึ่งปัจจุบันจะนิยม DDR3 ที่มีความเร็วสูกว่า DDR2 จากนั้นจะความจุของ RAM ปัจจุบัน RAM ที่จะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ควรต่ำกว่า 2 GB ส่วนเรื่องจำนวน Slot, ความเร็ว RAM อาจจะต้องพิจารณาร่วมกับข้อจำกัดของ Main Board ด้วย สำหรับการรับประกันส่วนใหญ่จะ Life Time กันหมดแล้ว ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Kingston, Kingmax, …
ฮาร์ดดิส (Harddisk)
การเลือก Harddisk มักจะดูที่ความจุเป็นหลัก ส่วนการเชื่อมต่อปัจจุบันจะเป็นแบบ SATA II เกือบทั้งหมดแล้ว อีกอยากที่ควรสนใจคือระยะเวลารับประกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3-5 ปี สำหรับคุณสมบัติอื่น เช่น ขนาด 3.5 นิ้ว ความเร็ว 7,200 รอบต่อวินาที ส่วนยี่ห้อที่นิยมได้แก่ Seagate, Western, …

การ์ดจอ (Display Adapter) หรือ กราฟิคการ์ด (Graphic Card)
การเลือกการ์ดจอให้พิจารณาจากการใช้งานเป็นหลัก กรณีที่ไม่ได้เอาไปเล่นเกมส์ หรือ งานออกแบบ 3 มิติ คุณสามารถเลือกซื้อการ์ดจอธรรมดาๆ มาใช้ได้เลย ส่วนที่ควรสนใจคือ ควรตรวจสอบเรื่องการเชื่อมต่อ (Slot) ว่ารองรับกับMainboard ที่คุณเลือกหรือไม่ เช่น AGP, PCI Express ที่สำคัญคือ ถ้าเมนบอร์ดของคุณมีการ์ดจอออนบอร์ดอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องซื้อการ์ดจอเลย (สังเกตุได้จากดูว่าเมนบอร์ดมีช่องต่อสายจอให้หรือเปล่า) สำหรับยี่ห้อให้ดูที่ ชิปเซต (Ship Set) ที่นิยมได้แก่ ATi, Nvidia , Intel

ไดร์ฟ Drive DVD
ควรเลือกซื้อแบบ DVD Writer ส่วนคุณสมบัติอื่นไม่ต่างกันมากนัก ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ส่วนตัวแนะนำให้ซื้อติดเครื่องไว้ จะช่วยให้คุณติดตั้งโปรแกรมได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าเป็นเครื่องสำหรับใช้ในบริษัทหลายๆ เครื่องคุณอาจจะซื้อ External DVD Writer มาใช้ตัวเดียวก็พอ

เลือกซื้อเครื่องพิมพ์

  1. เปรียบเทียนเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นด้วยผลงานแบบที่เราต้องการ เพราะงานพิมพ์เอกสาร กราฟิกและรูปถ่ายนั้นต้องการเครื่องพิมพ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้วเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นจะพิมพ์เอกสารได้ดีกว่า ส่วนเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตจะพิมพ์ทั้งรูปภาพและกราฟิกได้ดีกว่า
  2. ถ้าหากไม่ต้องการพิมพ์งานสี เครื่องพิมพ์เลเซอร์ขาวดำอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะนอกจากให้ความเร็วที่เหนือกว่า แล้วยังให้คุณภาพงานพิมพ์เอกสารและกราฟิกดีกว่า
  3. อย่าเปรียบเทียบความเร็วในการพิมพ์จากค่าที่บริษัทใช้โฆษณา แต่ให้เทียบความเร็วในการพิมพ์ที่ความละเอียดที่เราต้องการใช้งาน เพราะเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตจะใช้ความเร็วสูงสุดเป็นจุดขาย แต่เราจะใช้งานที่ความละเอียดสูงบ่อยกว่ามาก
  4. ตรวจสอบการเชื่อมต่อ ถ้าหากเรายังใช้เครื่องรุ่นเก่าหรือระบบปฏิบัติการตัวเก่าที่ไม่สนับสนุน USB ต้องแน่ใจว่า เครื่องพิมพ์ที่ซื้อนั้นต่อพวงกับพอร์ตขนาน
  5. ทางเลือกที่ควรจะเลือกสำหรับเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานร่วมกัน คือ ต่อตรงเข้าเน็ตเวิร์กได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบวิธีการเชื่อมต่อ และซอฟต์แวร์ในการควบคุมตรวจสอบเครื่องพิมพ์ที่ให้มาด้วยว่าสามารถใช้งานร่วมกับเน็ตเวิร์กที่ใช้งานอยู่ได้หรือไม่
  6. เครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถเพิ่มหน่วยความจำได้ บางรุ่นภายในเครื่องอาจไม่มีหน่วยความจำมาให้หรือมีเพียงเล็กน้อย เพราะว่าจะทำงานทั้งหมดจากคอมพิวเตอร์ก่อน ในกรณีที่สามารถอัพเกรดหน่วยความจำได้ ตรวจสอบก่อนว่าเครื่องพิมพ์มีหน่วยความจำมาให้เพียงพอกับที่เราต้องการ เช่นเราอาจจะต้องอัพเกรดหน่วยความจำให้สูงขึ้นเพื่อจะสามารถพิมพ์งานที่ความละเอียดสูงสุด
  7. ยิ่งถ้าเราเปลี่ยนอุปกรณ์สิ้นเปลืองน้อยครั้งเท่าใดยิ่งดี ถ้าเราพิมพ์เอกสารวันละ 25 แผ่น แต่เครื่องพิมพ์รองรับกระดาษได้ 25 แผ่นเช่นกัน เราจำเป็นต้องใส่กระดาษทุกๆ วัน ในขณะที่เครื่องพิมพ์รองรับกระดาษได้ถึง 250 แผ่นนั้น เราเพียงแค่ใส่กระดาษเพิ่มอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องที่จุกระดาษและหมึกได้มากพอกับความต้องการใช้งาน โดยที่เราไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยเกินไป
  8. ถ้าหากจำเป็นต้องพิมพ์งานปริมาณมากจริงๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ จะต้องตรวจสอบปริมาณงานพิมพ์ที่เครื่องนั้นรองรับต่อเดือน โดยเครื่องที่เลือกใช้นั้นควรจะรองรับงานพิมพ์ได้ประมาณ 4 เท่าของงานพิมพ์จริงที่เราต้องการ
  9. ก่อนจะซื้อเครื่องพิมพ์ ควรตรวจสอบเว็บไซต์ของผู้ผลิตเสียก่อน เพื่อดูว่าบริษัทมีการอัพเดตไดรเวอร์และมีข้อมูลทางเทคนิคบริการเอาไว้ให้
  10. เมื่อต้องการเปรียบเทียบเครื่องพิมพ์ให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายจริงที่จะเกิดขึ้น อุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องเช่น สายไฟ สายสัญญาณ ความจุของวัสดุสิ้นเปลือง ตลับหมึก ไม่ใช่เพียงแค่ดูจากราคาเครื่องที่แตกต่างกันเท่านั้น เพราะยิ่งถ้าหากเราพิมพ์งานมาก ค่าใช้จ่ายต่อแผ่นที่แม้จะต่างกันเพียบเล็กน้อยย่อมส่งผลต่อค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดได้เช่นกัน

 

ใส่ความเห็น